เมนู

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเป็นผู้พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า เป็นธีรชน
คือเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย.

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี 2 อย่าง


[695] ชื่อว่า ความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อม
ติดในโลก
ได้แก่ความติด 2 อย่าง คือความติดด้วยตัณหา 1 ความติด
ด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดตัวตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด
ด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว
เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่เข้าไปติด ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คือเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่
เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมไม่ติดในโลก. คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียน
ได้ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือเพราะกระทำอย่างหนึ่ง เพราะไม่การทำอย่างหนึ่ง
บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร บุคคลย่อม
ติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต
เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริ เราทำปาณาติบาต
ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะ

กระทำและเพราะไม่การทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมติเตียนตนว่า
เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่
หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยสติ
สัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน 4
เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท 4 เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ 5 เราไม่ได้เจริญพละ 5
เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ 7 เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เราไม่
กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ละสมุทัย เราไม่เจริญมรรค เราไม่ทำให้แจ้งซึ่ง
นิโรธ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้ มุนี
ไม่กระทำกรรมเป็นเหตุ ติเตียน คือไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม
ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติเตียนตน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีละอาสระอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น
ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ
ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.

[696] มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่
เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น
ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่

เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าดังนี้.

[697] มารเสนา เรียกว่า เสนา ในคำว่า มุนีนั้น กำจัดเสนา
แล้วในธรรมทั้งปวง
คือในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ
ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความ
เมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย
ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 2 ของท่าน
ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเห็นมารเสนาที่ 3 ของท่าน
ตัณหาเรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 4 ของท่าน ความง่วง-
เหงาหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 5 ของท่าน
ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 6 ของท่าน ความ
ลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 7 ของท่าน ความ
ลบหลู่ ความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 8 ของ
ท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศ ที่ได้
มาโดยหางผิด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 9 ของท่าน
ความยกตนและข่มคนอื่น เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ 10

ของท่าน ดูก่อนพระยามาร เสนาของท่านนี้เป็นผู้มีปกติ
กำจัดบุคคลผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะมารเสนา
นั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้
ความสุข
ดังนี้.
เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด
อันมุนีชนะ ให้พ่ายแพ้ ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วย
อริยมรรค 4 เมื่อนั้น มุนีนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว มุนีนั้น
กำจัดเสนาในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ ในอารมณ์
ที่รู้แจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรม
ทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ.

ว่าด้วยภาระ 3 อย่าง


[698] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว
พ้นขาด
ได้แก่ภาระ 3 อย่าง คือ ขันธภาระ 1 กิเลสภาระ 1
อภิสังขารภาระ 1.

ขันธภาระเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ขันธภาระ.
กิเลสภาระเป็นไฉน ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง นี้ชื่อว่า กิเลสภาระ.
อภิสังขารภาระเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่า อภิสังขารภาระ. ขันธภาระ กิเลสภาระ และ
อภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้
มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น